ยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาผู้ประกอบอาหารไทย เพื่อครัวไทยสู่ครัวโลก

มายกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาผู้ประกอบอาหารไทย ต้อนรับครัวไทยสู่ครัวโลกกันครับ

         สวัสดีเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ที่ติดตามเรื่องราวของผมอยู่นะครับ  วันนี้ผมจะมา up date เรื่องเกี่ยวกับการสอบยกระดับมาตราฐานฝีมือแรงงานสำหรับผู้ประกอบอาหารไทย ซึ่งล่าสุดผมได้มีโอกาศทดสอบมา นั่นก็คือ ผู้ประกอบอาหารไทย ระดับ 2 (ผมสอบระดับ 1แล้วครับ)สำหรับผมกับการเป็นเชฟอาชีพมาเกือบยี่สิบปี เป็นหัวหน้าพ่อครัวมาก็หลายแห่งถามว่ายังต้องสอบอีกไหม ก็ตามหัวเรื่องที่ผมกล่าวไว้ นั่นก็ คือ  “มายกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาผู้ประกอบอาหารไทย เพื่อครัวไทยสู่ครัวโลกกันครับ”  ผมว่าสำหรับเชฟที่คิดจะไปทำงานในต่างประเทศน่าจะจำเป็นนะครับ และน่าจะเป็นใบเปิดทางที่ดีครับ  หรืออย่างไรก็แล้วมีเวลาก็หาโอกาศไปทดสอบเก็บไว้ก็ดีครับ   (แต่ทั้งนี้สำหรับนักเรียนนักศึกษาสายวิชาชีพนี้ในปัจจุบันน่าจะมีการส่งเสริมกันอยู่แล้ว)  ไม่อธิบายอะไรมากดีครับ  นำรูปความประทับใจเล็ก ๆ มาฝากครับ  และยินดีกับตัวเองที่ได้หนังสือรับรองของ Level 2 มาเก็บไว้แล้วเช่นกัน  (ท้ายๆ ผมเอาข้อมูลเกี่ยมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ  สาขาผู้ประกอบอาหารไทย มาฝากด้วยนะ ครับ เพื่อใครสนใจ)

ขอบคุณอาจารย์ศรีสมรมากครับสำหรับคำแนะนำดีๆ และขอบคุณโอกาศดีๆทีผ่านเข้ามาหาผมด้วยครับ + ขอบคุณมากๆ ครับ

Pic By Chef Kai

บันทึกพ่อครับ โดย เชฟพงษ์ศักดิ์ มิขุนทอง @ 2014

เครดิษ : มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ฉบับที่ 67  21 มีนาคม 2548

มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ  สาขาผู้ประกอบอาหารไท

ขอบเขตมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาผู้ประกอบอาหารไทย

                          ๑.๑     มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ   สาขาผู้ประกอบอาหารไทย แบ่งออกเป็น ๒ ระดับ ได้แก่ ระดับ ๑  (พ่อครัว/แม่ครัว ๑) และระดับ ๒ (พ่อครัว/แม่ครัว ๒)

                          ๑.๒   ผู้ประกอบอาหารไทย  หมายถึง  ผู้มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดเตรียมและปรุงอาหารไทยทั้งคาว  หวาน  และอาหารว่าง ได้ถูกต้องและปลอดภัยตามหลักสุขอนามัย ตลอดจนการจัด  และตกแต่งแบบไทย

                          ๑.๓    ผู้ประกอบอาหารไทย ระดับ ๑  (พ่อครัว/แม่ครัว ๑)  หมายถึง  ผู้ที่มีฝีมือและความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติงาน สามารถทำอาหารไทยได้

                          ๑.๔   ผู้ประกอบอาหารไทย ระดับ ๒  (พ่อครัว/แม่ครัว ๒) หมายถึง ผู้ที่มีฝีมือ มีความรู้ ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์ในการปรุงประกอบอาหารไทยในร้านอาหาร ที่มีรายการอาหารไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และได้รับมาตรฐาน Clean Food Good Taste จากกระทรวงสาธารณสุข หรือเทียบเท่า/สูงกว่า

                          ๑.๕   การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ  ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติจะต้องคำนึงเรื่องต่อไปนี้

                                      ๑.๕.๑    ความปลอดภัยในการทำงานด้านสถานที่  ภาวะแวดล้อมและความปลอดภัยส่วนบุคคล

                                      ๑.๕.๒   ความรู้ความเข้าใจพื้นฐานในการปฏิบัติงาน

                                      ๑.๕.๓   วิธีการปฏิบัติงานซึ่งเน้นความถูกต้องและเรียบร้อย

                                      ๑.๕.๔   การเลือกใช้และดูแลรักษาเครื่องครัว  และอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน

                                      ๑.๕.๕   การเลือกใช้วัสดุอย่างถูกต้อง  เหมาะสมและประหยัด

                                      ๑.๕.๖    ระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติงาน

                                      ๑.๕.๗   ผลงานที่สำเร็จและได้คุณภาพ

             หนังสือรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ

                  ผู้มีสิทธิ์ได้รับหนังสือรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติจะต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ  สาขาผู้ประกอบอาหารไทยในแต่ละระดับ โดยต้องได้คะแนนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไม่ต่ำกว่าร้อยละเจ็ดสิบ


แสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่อง : ยกระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน สาขาผู้ประกอบอาหารไทย เพื่อครัวไทยสู่ครัวโลก